ชิปปิ้ง ภาษีนำเข้า ต้องจ่ายหรือไม่ เมื่อขนส่งข้ามประเทศ Chinatopcargo ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ภาษีนำเข้า ต้องจ่ายหรือไม่ เมื่อขนส่งข้ามประเทศ tax 1024x536

ชิปปิ้ง การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน ส่วนใหญ่เมื่อสินค้าถึงประเทศปลายทาง จะต้องทำการชำระภาษีและอากรขาเข้าตามกฎหมายทุกครั้ง

ซึ่งการคำนวณจำนวนเงินที่ถูกต้องของภาษี และหน้าที่ต้องจ่าย เป็นกระบวนการซับซ้อนที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี การตัดปัญหาปวดหัวเรื่องภาษีนำเข้าสินค้า อาจทำได้โดยการใช้บริการชิปปิ้ง ที่ได้มาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ 

บริษัทชิปปิ้ง ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักจะดำเนินการเรื่องเสียภาษีให้อย่างเสร็จสรรพหรือเรียกว่าเป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จนั่นเอง ทั้งนี้ จะมีการคำนวณภาษีที่แตกต่างกันในแต่ละผู้ให้บริการชิปปิ้ง แต่ถึงแม้ว่าคุณจะตัดปัญหาเรื่องการชำระภาษีสินค้านำเข้าให้กับผู้ให้บริการชิปปิ้ง เป็นผู้รับผิดชอบไปแล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีนำเข้าก็เป็นสิ่งจำเป็นอยู่ดี หากคุณอยากเปิดร้านค้าออนไลน์ในอนาคตหรือต้องใช้บริการสั่งซื้อสินค้าจากจีนอยู่บ่อยๆ Chinatopcargo มีความรู้เรื่องภาษีนำเข้ามาฝาก ดังต่อไปนี้

ภาษีนำเข้ามีความสำคัญอย่างไร ?

ภาษีนำเข้า คือการนำเข้าสินค้า ที่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตจะต้องเสียภาษีอากร ภาษีนำเข้ามีศัพท์ที่คุณควรรู้ ได้แก่

ภาษี (Tax)
คือ การเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ การนำสินค้าเข้าประเทศแน่นอนว่า จะต้องมีการเสียภาษี ภาษีจะเรียกเก็บในอัตราเดียวกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสินค้าชนิดใดก็ตาม แต่ก็จะมีการยกเว้นในบางกรณี เฉพาะบางประเทศ หรือบางรัฐ เพราะรัฐบาลมีกฎหมายปลอดภาษีให้กับประชาชน เช่น
ถ้าหากสินค้าที่สั่งเข้ามาในสหรัฐอเมริกา แล้วมีใบสั่งซื้อสินค้าที่มีมูลค่าต่ำว่า 800 เหรียญ (ประมาณ 24,000 บาท++) ก็จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีนั่นเอง ทั้งนี้ เมื่อคุณนำเข้าสินค้าปลายทางคือประเทศใด ควรตรวจสอบมูลค่าสินค้าขั้นต่ำที่แต่ละประเทศกำหนดไว้ว่าไม่ต้องเสียภาษี

อากร Duty
เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะบังคับจัดเก็บจากประชาชน เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม จะเรียกเก็บตามส่วนของมูลค่าสินค้า และส่วนของปริมาณสินค้า ขึ้นอยู่กับว่าประเทศปลายทางมีกฎหมายในการเก็บภาษีอย่างไร เพราะแต่ละประเทศก็จะมีการเรียกอากรที่แตกต่างกันไป เช่น การส่งของไปประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าหากส่งของเพื่อการพาณิชย์ ก็อาจจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการค้า (Merchandising Processing Fee) ภาษีขาย (Sales Tax) และภาษีเงินได้ (Internal Revenue Tax) เพิ่มขึ้นอีกด้วย

นำเข้าสินค้าประเภทไหนที่ต้องเสียภาษี

1. สินค้าที่ละเมิดสิทธิทางปัญญา หรือ สินค้าลอกเลียนแบบ
2. สินค้าที่มีมูลค่าราคามากกว่า 80,000 บาท
3. สินค้าแบรนด์เนมที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000 บาท

นำเข้าสินค้าประเภทไหนที่ไม่ต้องเสียภาษี

1. ของใช้ส่วนตัวมูลค่ารวมไม่เกิน 10,000 บาท
2. ของใช้ส่วนตัวหรือสินค้าจากร้านค้าปลอดภาษี ที่อยู่ในสนามบิน มูลค่ารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท
3. ของใช้ในบ้านเรือนที่ติดมา กรณีย้ายภูมิลำเนาและสินค้าที่ซื้อจากร้านค้าปลอดภาษีในสนามบิน มูลค่ารวมกันไม่เกิน 50,000 บาท
4. บุหรี่ไม่เกิน 200 ม้วน หรือยาสูบไม่เกิน 250 กรัม
5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร

การคำนวณอัตราภาษีขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ต้องเสียภาษี สำหรับการคำนวณจะดูจากหมายเลขที่กำหนดไว้แต่ละประเภทสินค้า เรียกว่า ‘ พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์’ หรือชื่อย่อ ” HS Code “

ทำความรู้จักกับ ‘CIF’ (CIF ย่อมาจาก Cost Insurance Freight) ก่อนเริ่มคำนวณเกี่ยวกับภาษี เพราะการคำนวณค่าภาษีนำเข้าจะอ้างอิงโดยใช้หลักดังกล่าวนี้ (การคิดภาษีนำเข้านั้นจะใช้ ‘ราคา CIF’ ในการคำนวนภาษี ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเทอมซื้อขายสินค้าแต่อย่างใด)

Cost : ราคาสินค้าที่นำเข้ามา

Insurance : ประกันภัย ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ ประกันเพื่อออกของ โดยคิด1%จากCost (ไม่สามารถเคลมได้) กับประกันเพื่อเคลมได้ (คือซื้อประกันกับบริษัทประกัน)

Freight : ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

สูตรที่ใช้ในการคำนวณค่าภาษีนำเข้า

1 (ค่าสินค้า + ประกัน + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ) = ราคา CIF

2 (นำมูลค่ารวม CIF x อัตราอากรขาเข้า (คิดเป็น %) = ภาษี (5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้านั้นๆ)

3 (นำมูลค่ารวม CIF + ภาษี) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat %) = ภาษีมูลค่าเพิ่ม

4 (ภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม) = มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

ตัวอย่างการคำนวณ

1. มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามา 1,000,000 บาท
2. ค่าประกัน10,000 บาท (1%) *ในกรณีที่ไม่ได้ทำประกันภัย*
3. ค่าขนส่งระหว่างประเทศ 50,000 บาท
4. อัตราภาษีนำเข้า10%

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

1. (ค่าสินค้า + ประกัน + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ) = ราคา CIF
จะได้ (1,000,000 + 10,000 + 50,000 ) = 1,060,000 บาท

2. (มูลค่ารวม CIF x ค่าภาษีอากรขาเข้า *สมมุติ 10%*) = ภาษี
จะได้ (1,060,000 x 10%) = 106,000 บาท

3. (มูลค่ารวม CIF + ภาษี) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat7 % ) = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
จะได้ (1,060,000 + 106,000 ) x 7% = 81,620 บาท

4 (ภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม) = มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ
จะได้ (106,000 + 81,620) = 187,620

∴ สรุปมูลค่าภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ คือ 187,620 บาท ∴ 

ข้อควรทราบ

⇒ ราคามูลค่าสินค้าขั่นต่ำที่ต้องเสียภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับข้อกำหนดทางกฏหมายของแต่ละประเทศ
ค่าภาษีสำหรับใช้เพื่อชำระค่าภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากรให้ดูจากใบขนสินค้าขาเข้าตัวจริง
HS Code (Harmonized System) คือ ระบบจำแนกประเภท และระบุชนิดด้วยรหัสเลข 6 หลัก เป็นมาตรฐานสากลที่องค์การศุลกากรโลก (WEC) จัดทำขึ้นเพื่อจัดจำแนกและระบุสินค้าที่มีการซื้อขายได้อย่างถูกต้อง หรือเรียกว่า ‘พิกัดศุลกากร’

ผู้สนใจที่อยากเปิดร้านค้าออนไลน์ และต้องการนำเข้าสินค้าจากจีน สามารถเลือกใช้บริการกับเว็บไซต์ ที่ให้บริการเป็นภาษาไทยอย่าง Alibabaeasy และบริการขนส่งสินค้าหรือชิปปิ้ง กับทาง Chinatopcargo เรายินดีให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังสามารถศึกษาขั้นตอนการขนส่งสินค้าก่อนใช้บริการได้ที่ >>https://chinatopcargo.com/ขั้นตอนการขนส่ง/