ชิปปิ้งสินค้าขายออนไลน์กับการทำคอนเทต์มาร์เก็ตติ้งแบบญี่ปุ่น

ชิปปิ้งสินค้าขายออนไลน์กับการทำคอนเทต์มาร์เก็ตติ้งแบบญี่ปุ่น

ในยุคที่เราเข้าสู่โลกออนไลน์หรือสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์กเรามักจะเห็นร้านขายของออนไลน์เต็มหน้าไทม์ไลน์ไปเสียหมด บางร้านก็สั่งของหรือชิปปิ้งสินค้าจากต่างประเทศ บางร้านก็มีความน่าดึงดูดของสินค้า บางร้านก็ออกแบบหน้าร้านค้าได้อย่างสวยงาม บางร้านก็ทำให้เรารู้สึกปล่อยผ่านหรือเลื่อนผ่านไปแบบไม่มีรู้สึกถึงความน่าสนใจ บางร้านสร้างสรรค์การนำเสนอของร้านได้จนเราต้องเข้าไปดูและซื้อสินค้ากลับมา หลากหลายร้านค้าต่างก็นำเสนอสินค้าหรือความเป็นร้านค้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นร้านไหนมีการนำเสนอดี น่าสนใจก็ย่อมสร้างความได้เปรียบมากกว่าร้านค้าอื่น ๆ เพราะทำให้คุณสามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาที่ร้านของคุณได้ การทำการตลาดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เหล่าเจ้าของธุรกิจขายของออนไลน์ต้องหันมาสนใจ การทำตลาดไม่จำเป็นต้องคำนึงในเรื่องของ สินค้า ราคา สถานที่ หรือโปรโมชั่นเพียงอย่างเดียว แต่มีสิ่งอื่นด้วยที่สามารถเป็นเครื่องมือในการทำตลาดอย่างการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง

ชิปปิ้งสินค้าขายออนไลน์กับการทำคอนเทต์มาร์เก็ตติ้งแบบญี่ปุ่น  ชิปปิ้งสินค้าขายออนไลน์กับการทำคอนเทต์มาร์เก็ตติ้งแบบญี่ปุ่น Social Mar1 01
ชิปปิ้งสินค้าขายออนไลน์กับการทำคอนเทต์มาร์เก็ตติ้งแบบญี่ปุ่น

การทำคอนเทนต์จะช่วยสร้างความน่าสนใจในการนำเสนอสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเรา ว่าคุณทำธุรกิจอะไรอยู่ วันนี้ chinatopcargo จึงมีหลักการในการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งแบบญี่ปุ่นมาฝากกัน ไม่ว่าธุรกิจแบบไหนอย่างร้านอาหาร ร้านขายของ หรือร้านที่ทำเกี่ยวกับชิปปิ้งสินค้าก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งนั้น เพราะญี่ปุ่นขึ้นชื่ออยู่แล้วในเรื่องของไอเดียและความคิดสร้างสรรค์สุดบรรเจิด แต่จะมีขั้นตอนวิธีการอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันดีกว่า

1. คำพูดจากลูกค้านำมาใช้

หากคุณหรือเจ้าของธุรกิจยังไม่แน่ใจว่าจะนำเสนอถึงจุดขายของสินค้าเราว่าอย่างไรดี เช่น ทำธุรกิจเกี่ยวกับชิปปิ้งสินค้า แต่ไม่รู้จุดเด่นของร้านคุณ ก็สามารถหาคำตอบได้ง่าย ๆ ด้วยการนำคำพูดของลูกค้าปัจจุบันว่าพูดถึงร้านเราว่าอย่างไร พูดถึงสินค้าเราว่าอย่างไร โดยสามารถถามคำถามลูกค้าด้วย 3 คำถามง่าย ๆ ดังนี้

1.1 ก่อนซื้อสินค้าตัวนี้ คุณมีปัญหาอะไรมาบ้าง คำถามนี้จะช่วยให้เราเห็นถึงกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้ชัดขึ้น ลูกค้าเป็นคนกลุ่มใด ช่วงอายุไหน หรือใครที่ต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเราได้กว้างขึ้น ละเอียดและชัดเจนขึ้น เช่น ผู้ชายทำงานวัย 30 ปีหรือ สิว ปัญหาหนักใจของวัยรุ่น ใช้อะไรก็ไม่หายเป็นต้น

1.2 ลูกค้าเห็นสินค้าแล้วซื้อเลยหรือไม่ ถ้าไม่ซื้อเลยเป็นเพราะอะไร ข้อนี้จะช่วยให้เราทราบถึงปัญหา หรือสิ่งที่ควรปรับปรุงเกี่ยวกับสินค้า หรือการนำเสนอของสินค้าที่เราอาจจะยังสื่อสารไม่ตรงจุดหรือไม่มีความชัดเจน เช่น เราขายผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ใช้เทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วย แต่ลูกค้าไม่กล้าซื้อเพราะด้วยความที่เป็นของใหม่ ทางร้านค้าอาจมีการนำเสนอหรือสร้างคอนเทนต์ให้ลูกค้าเข้าใจถึงสรรพคุณหรือนำเสนอถึงผลการทดลองของผลิตภัณฑ์นี้ว่าจะช่วยตอบโจทย์ลูกค้าในเรื่องนี้อย่างไร เป็นต้น

1.3 ทำไมถึงตัดสินใจซื้อสินค้าตัวนี้ ข้อนี้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจร้านค้าออนไลน์มองเห็นถึงข้อดีหรือจุดเด่นของสินค้าที่เหนือกว่าสินค้าคู่แข่ง ที่จะช่วยให้เราสร้างคอนเทนต์โดยการชูจุดเด่นของสินค้าเราในการนำเสนอ

2. สไตล์คำพูดที่โดนใจลูกค้า

ในการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งของญี่ปุ่น จะเรียกวิธีนี้ว่า QPC Analysis โดยจะแบ่งคีย์เวิร์ดหรือคำที่ใช้ให้อยู่ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในการนำเสนอสินค้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ด้านคุณภาพ (Quality) ด้านราคา (Price) และด้านความสะดวกสบาย (Convenience) โดยสามารถพิจารณา วิเคราะห์ หรือสังเกตว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายน่าจะสนใจด้านไหน สินค้าของเรามีจุดเด่นด้านไหน แล้วหยิบคีย์เวิร์ดมาใช้ในหรือใส่ในสโลแกน หรือสร้างสรรค์คอนเทนต์ในการนำเสนอ

ตัวอย่างคำศัพท์ใน QPC ที่สินค้าญี่ปุ่นมักใช้

Quality

  • คุณภาพดี พิเศษ
  • ทำจากธรรมชาติ
  • แบรนด์เก่าแก่กว่าปี
  • ขายดีอันดับ 1
  •  แบรนด์ดัง
  • สด ใหม่

Price

  • ราคาเหมาะสม ย่อมเยา
  • ราคาถูก
  • คุ้มค่า

Convenience

  • ความสะดวก
  • ง่าย / สำหรับมือใหม่
  • พกพาสะดวก
  • ไม่เสียค่าจัดส่ง

ยกตัวอย่างเช่น หากจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ถ้าผู้ซื้อเป็นห่วงด้านคุณภาพ บริษัทอาจนำเสนอจุดเด่นของสินค้าที่ว่า ครีมบำรุงผิวหน้าส่วนผสมจากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ เหมาะทุกสภาพผิว ผ่านการรับรองจากแพทย์ผิวหนังเป็นต้น

สำหรับข้อสุดท้าย คือ ความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูค้า โดยร้านค้าจะต้องนำเสนอจุดขายหรือการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในการนำเสนอจุดขายอย่างจริงใจ ไม่เกินจริง ลองนำเทคนิคข้างต้นไปใช้ในการเขียนสโลแกนสินค้าหรือทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งในการนำเสนอผู้บริโภค หากเจ้าของธุรกิจสั่งซื้อ นำเข้าสินค้าจากจีนหรือชิปปิ้งสินค้าจากจีน (คลิกเลย) แล้วนำเครื่องมือที่กล่าวข้างต้นมาช่วยในการทำมาร์เก็ตติ้ง ก็จะทำให้ผู้ประกอบการเห็นเสน่ห์หรือจุดแข็งของสินค้าตนเองและยังช่วยให้ทราบว่าลูกค้าคือใครได้อย่างชัดเจน