นำเข้าสินค้าจากจีน 6 ขั้นตอนการเริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

นำเข้าสินค้าจากจีน 6 ขั้นตอนนำเข้าส่งออก Chinatopcargo นำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีน 6 ขั้นตอนการเริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก 6                                                           Chinatopcargo 768x402

นำเข้าสินค้าจากจีน ใกล้ปีใหม่ทั้งที คงจะมีหลายคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ สร้างความมั่นคงให้กับชีวิต และหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความสนใจ คือธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีน ซึ่งกำลังมาแรงในยุคนี้

Chinatopcargo ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการชิปปิ้งจีน มีคำแนะนำมาฝากผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกมือใหม่

1. จดทะเบียน
ในการประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก หรือประกอบธุรกิจใดๆ เพื่อความถูกต้อง ความน่่าเชื่อถือ รวมไปถึงภาพลักษณ์ และหน้าที่ความรับผิดชอบภายใต้กฏหมายบังคับ คือการจดทะเบียน หากประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าหรือส่งออกจากราชอาณาจักร ควรจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้อง เพราะจะทำให้เกิดความเชื่อถือมากขึ้นในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจุบัน การจดทะเบียน จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
จดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา คือ มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาเพียงคนเดียว
จดทะเบียนนิติบุคคล จำแนกออกเป็น 3 แบบ คือ
-บริษัทจำกัด
-บริษัทมหาชนจำกัด
-ห้างหุ้นส่วนจำกัด

2. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับผู้ประกอบการ ที่มีรายได้ต่อปี เกิน 1,800,000 บาท จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยให้ยื่นคำร้องจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้ตามกำหนด ศึกษาวิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ กรมสรรพากร

3. การทำบัตรผ่าน พิธีการศุลกากร (Smart Card)
ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องมีไว้ติดตัวอยู่เสมอ (เปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชน) ใช้สำหรับการดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดน โดย Smart Card ใบนี้จะทำการบันทึกข้อมูลพื้ลฐานทั้งหมดของผู้ประกอบการ

4. ศึกษาวิธีการชำระเงินระหว่างประเทศ
การชำระเงินระหว่างประเทศที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

– การชำระด้วยเงินสด หรือการชำระล่วงหน้า คือผู้ซื้อสินค้าจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายด้วยเงินสดก่อนการส่งมอบสินค้า

– การชำระโดยการเปิดบัญชีรายชื่อ คือการที่ผู้ขายสินค้าจะส่งมอบสินค้าไปถึงมือผู้ซื้อก่อน เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้ว จึงติดต่อธนาคารเพื่อโอนเงินชำระค่าสินค้าให้กับผู้ขาย โดยการโอนทางตั๋วเงินหรือดราฟท์ตามระยะเวลาที่กำหนด (ขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมกันก่อนทำการซื้อขาย ระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย) อย่างไรก็ตาม การซื้อขายด้วยวิธีนี้ ผู้ขายมักเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารจะเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีการโอนเงินค่าสินค้าเท่านั้น

– การชำระโดยเรียกเก็บเงินผ่านธนาคาร
ธนาคารผู้เรียกเก็บจะปฏิบัติตามคำสั่งของลูกค้าอย่างเคร่งครัด แบ่งออกได้ดังนี้

D/P (Document Against Payment) คือการที่ผู้ขายสินค้าส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าที่ตนเองส่งออกไปให้แก่ผู้ซื้อ ผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนของผู้ซื้อ เพื่อเรียกเก็บค่าสินค้าก่อนการส่งมอบเอกสาร

D/A (Document Against Acceptance) คือ การที่ผู้ขายสินค้าส่งเอกสารการเก็บเงินค่าสินค้า ไปยังผู้ซื้อ ผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนของผู้ซื้อ และชำรำค่าสินค้าตามที่ตกลง เช่น 60 วัน หรือ 30 วัน ลักษณะการจ่ายเงินแบบนี้ จะเรียกอีกรูปแบบหนึ่งคือ Credit

– การชำระเงินโดยการเปิด Letter หรือ Credit
การชำระค่าสินค้าด้วยการเปิด Letter of Credit หรือที่เรียกกัน ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นวิธีเดียวที่พอจะมีหลักประกันได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้มอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินแล้ว

5. ศึกษากฎระเบียบของสินค้าและสิทธิพิเศษทางภาษี
ขั้นตอนนี้เริ่มต้นด้วย การศึกษากฎระเบียบของสินค้า ผู้ส่งออกต้องศึกษาก่อนว่า สินค้าที่จะทำการส่งออก อยู่ในประเภทใด โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 หมวด คือ
-หมวดสินค้าทั่วไป (สินค้าทั่วไปไม่ต้องขออนุญาตส่งออก)
-หมวดสินค้าควบคุม (ผู้ส่งออกต้องขออนุญาตหรือขอโควต้า )
-หมวดสินค้ามาตรฐาน (ต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้ามาตรฐาน)

หากสินค้าของผู้ประกอบการอยู่ในหมวด สินค้าควบคุม และสินค้ามาตรฐาน จะต้องขออนุญาต จากกรมการค้าต่างประเทศก่อน

สิทธิพิเศษทางภาษี คือ ผู้ส่งออกต้องศึกษาและตรวจสอบสิทธิพิเศษทางภาษี ว่าหากมีการส่งสินค้าไปยังประเทศคู่ค้า จะมีสิทธิพิเศษทางภาษีอะไรบ้าง เช่น FTA, GSP, CEPT, GSTP ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะจะทำให้ทราบได้ว่าสินค้าที่ส่งออกไป มีสิทธิพิเศษอะไรบ้าง สามารถลดหย่อนภาษีได้หรือเปล่า และช่วยให้ผู้ประกอบการส่งออกสามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดต่างประเทศได้ดีอีกด้วย

6. ศึกษาพิธีการศุลกากร
ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่ส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการรายใหม่ต้องศึกษาถึง กฎระเบียบและวิธีปฏิบัติที่กรมศุลกากรกำหนดอย่างเคร่งครัด ทำความเข้าใจเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดครบถ้วน เพียงเท่านี้ ก็จะสามารถผ่านขั้นตอนนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีปัญหา

การเริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีน อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ต้องอาศัยหลายปัจจัย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปสำหรับผู้ที่มีความตั้งใจจริง อย่างไรก็ตาม ลองศึกษาและทดลองนำเข้าสินค้าด้วยตนเองก่อนเพื่อให้รู้จริงทุกขั้นตอนกับเรา Chinatopcargo บริษัทผู้มีประสบการณ์ด้านชิปปิ้งจีนครบวงจร ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากร้านพรีออเดอร์จีนและผู้ประกอบการนำเข้ามายาวนาน