สั่งสินค้าจากจีนกับเหตุผลที่ธุรกิจไม่ควรมองข้ามแพลตฟอร์มอย่าง Twitter
การทำธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศเรา ไม่ว่าจะเป็น การเปิดร้านขายของ การทธุรกิจแบบ SME การทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าหรือสั่งสินค้าจากจีน ในปัจจุบันต่างหันมาใช้เครื่องมือในโลกออนไลน์อย่างมาก แต่ส่วนใหญ่แฟลตฟอร์มยอดนิยมที่เหล่าธุรกิจต่าง ๆ ใช้กัน คงจะหนีไม่พ้นเครื่องมืออย่าง เฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำธุรกิจ และแพลตฟอร์มเหล่านี้ต่างก็ออกแบบที่ช่วยในการทำธุรกิจโดยเฉพาะ โดยเฉพาะกับเหล่าธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่เริ่มต้นเองอย่างการขายของออนไลน์ การสั่งสินค้าจากจีนเพื่อซื้อขายให้กับลูกค้าคนไทย หรือแม้แต่ธุรกิจหรือแบรนด์ใหญ่ ๆ ต่างก็ใช้ครื่องมือเหล่านี้ในการติดต่อสื่อสาร ทำกิจกรรมทางการตลาดกับลกุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมายอีกด้วย แต่หนึ่งแพลตฟอร์มที่หลาย ๆ ธุรกิจมองข้ามไปอย่าง ทวิตเตอร์ สาเหตุก็มาจากกลุ่มผู้ใช้มีไม่มากเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ และแพลตฟอร์มที่ถูกสร้างในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้จำกัด
ทวิตเตอร์เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2006 ที่มีผู้ใช้ทั่วโลกจนถึงปัจจุบันกว่า 300 – 400 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้คิดเป็นจำนวนคนไทยได้ถึง 12 ล้านคนเลยทีเดียว และมีอัตราการออนไลน์และแอคทีพอยู่ถึง 5.7 ล้านคน (ข้อมูลในไทยโดย WISESIGHT) หากเมื่อเทียบแพลตฟอร์มกับสังคมออนไลน์แบบอื่นอย่าง เฟซบุ๊กที่มีผู้ใช้งานกว่า 50 ล้านคน ไลน์มีผู้ใช้งานกว่า 42 ล้านคน และอินสตาแกรมมีผู้ใช้งานกว่า 13 ล้านคน จากจำนวนผู้ใช้งานของทวิตเตอร์เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มรูปแบบอื่น ๆ อาจจะไม่เยอะหรือมีมากเท่า แต่ในช่วงที่ผ่านมาทวิตเตอร์ในประเทศไทยกลับมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทั้งจำนวนผู้ใช้ ธุรกิจ แบรนด์สินค้า บริการต่าง ๆ ที่ต่างหันเข้ามาสื่อสารและทำการตลาดบนพื้นที่นี้ และค่อนข้างมีอิทธิพลในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย การสื่อสารที่เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพอย่างมากเลยทีเดียว โดยที่เราจะเห็นได้จากแบรนด์หรือธุรกิจต่าง ๆ หันมาส่งผ่านข้อมูล ทำกิจกรรมต่าง ๆ บนพื้นที่ที่เรียกว่าทวิตเตอร์ ทั้งธุรกิจการขายของ การโปรโมตสินค้า หรือพื้นที่ติดต่อซื้อขายสินค้าต่าง ๆ ทั้ง สินค้าพรีออเดอร์หรือการสั่งสินค้าจากจีน เป็นต้น (โดยสามารถเข้ามาดูรายละเอียดของการใช้บริการและสินค้าจากจีนเพิ่มเติมได้ที่นี่)
“Arvinder Gujral กรรมการผู้จัดการ ทวิตเตอร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กล่าวถึงอัตรการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานทวิตเตอร์ทั่วโลกว่า เติยโตทุกไตรมาส 10 – 12 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่โซนเอเชีย แปซิฟิค มีอัตราการเติบโตมากกว่า 10 – 12 เปอร์เซ็นต์ และประเทศไทยมีอัตราการเติบโตมากกว่าที่กล่าวมา โดยไทยกลายเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก“
วันนี้เราไปดูกันดีกว่าว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้ทวิตเตอร์ไทยเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้เวลานี้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศกลุยทธ์ที่ทวิตเตอร์ให้ความสำคัญ และเป็นผลดีต่อเหล่าธุรกิจในประเทศไทย ที่จะได้ใช้แพลตฟอร์มนี้ในการทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ขายสินค้าแบบไหน นำเข้าสินค้าหรือสั่งสินค้าจากจีน ก็ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเรียนรู้และปรับตัวไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ไปดูปัจจัยที่ทวิตเตอร์เติบโตในประเทศไทยว่าประกอบด้วยอะไรบ้างกันดีกว่า ดังนี้
1. การใช้งานทวิตเตอร์ในไทยอยู่ในช่วง Beginning Stage
ทวิตเตอร์ในประเทศไทยถือได้ว่าอยู่ในช่วงกำลังเริ่มต้น ทำให้ยังมีช่องว่างอีกมากที่จะเติบโต ทั้งจำนวนผู้ใช้งาน การนำเสนอฟีลเจอร์ใหม่ ๆ และโฆษณาที่เข้ามารวมถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เข้ามา โดยทาง DAAT 2018 เปิดเผยจำนวนเม็ดเงินโฆษณาเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์สูงเกือบ 3 เท่า และคาดว่ามีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อธุรกิจหรือแบรนด์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาใช้ช่องทางนี้อีกหนึ่งช่องทางในการขับเคลื่อนธุรกิจ
2. เอกลักษณ์อย่าง Look at this moment ทำให้ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่แตกต่างจากสื่อสังคมออนไลน์แบบอื่น ๆ
ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่โดดเด่นในเรื่องของการเป็นสื่องสังคมออนไลน์อย่าง Look at this moment มากกว่าสื่อสังคมมออนไลน์ที่เป็นแบบ Look at me เพราะทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานต้องากรแชร์เหตุการณ์หรือโมเมนต์ที่กำลังเป็นกระแส ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่มาในรูปแบบของข้อความ วิดีโอ ที่ผู้ใช้งานคน ๆ นั้น สนใจ เช่น กีฬา ศิลปะ บันเทิง การเมือง ข่าวสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่สื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์หลักที่โพสต์บอกเกี่ยวกับตัวเอง จุดเด่นของทวิตเตอร์ในด้านนี้เอง ที่ทำให้แบรนด์และธุรกิจสามารถเข้ามาศึกษาและติดตามได้ว่ากำลังเกิดขึ้นอะไรขึ้นในโลกหรือในตลาดท้องถิ่นนั้น ๆ
จุดเด่นของของผู้ใช่งานทวิตเตอร์คือ ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าเขาอยากจะเห็นอะไรและติดตามเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองสนใจ เช่น สนใจศิลปะ บันเทิง เพลง ภาพยนตร์ ผู้ใช้งานก็เลือกติดตามบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ศิลปิน นักร้อง นักแสดง ดารา เป็นต้น ดังนั้นแล้วเมื่อมีแมจเสจเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจขึ้นมา ก็จะเลือกในสิ่งที่สนใจหรือเลือกที่จะดูมากกว่า เพราะตรงกับความสนใจของตัวเองนั่นเอง
3. ทันเวลา ทันเหตุการณ์และสั้น กระชับ ได้ใจความ
จุดต้นกำเนิดของทวิตเตอร์คือ Micro Blog ที่ให้ผู้ใช่งานสามารถทวีตเรื่องราวต่าง ๆ ได้สั้นและกระชับ จำนวน 140 ตัวอักษรและปัจจุบันได้อัพเดตเป็น 280 ตัวอักษร ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีและตรงกว่า ถือเป็นเสน่ห์ของทวิตเตอร์ ที่ผู้ใช้งานต้องการติดตามเรื่องของข่าวสารที่รวดเร็ว สั้น และตรงประเด็น
4. Twitter Trend ความได้เปรียบแพลตฟอร์มอื่นของทวิตเตอร์
ความได้เปรียบของทวิตเตอร์คือ เทรนด์ทวิตเตอร์ที่กำลังเป็นที่สนใจหรืออยู่ในความสนใจในช่วงเวลานั้น ๆ ทำให้ผู้ใช้งานและธุรกิจหรือแบรนด์ต่าง ๆ ว่าช่วงนั้นอะไรคือกระแสสังคมอะไรที่อยู่ในความสนใจของคน เปิดโอกาสให้ธุรกิจหรือแบรนด์ต่าง ๆ อย่างการขายของออนไลน์ การสั่งสินค้าจากจีน สามารถใช้ทวิตเตอร์เทรนด์ ต่อยอดไปสู่การสื่อสารหรือทำเคมเปญไปตามกระแสที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อสร้างไวรัลให้กับแบรนด์หรือธุรกิจ
5. กระแส K – Pop ทำให้การใช้งานในประเทศไทยมาแรง
กระแสเคป๊อปเป็นกระแสที่ทำให้โลกทวิตเตอร์นั้นคึกคักเสมอ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของเหล่าผู้ใช้ทวิตเตอร์ว่าสนใจอะไรหรือชื่นชอบอะไร โดยในปีที่ผ่านมาจะแฮชแท็กยอดฮิตพบว่ามากกว่าครึ่งจะเป็นกระแสเกี่ยวกับเคป๊อปทั้งสิ้น เช่น #bts #exo #wannaone เป็นต้น และเป็นการใช้แฮชแท็กตรงนี้ในการโปรโมตร้านค้าจากกลุ่มที่คิดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมาย อย่างสินค้าเครื่องสำอาง ขายของ ขายสินค้า สั่งสินค้าจากจีน ที่มักมีการติดแฮชแท็กยอดนิยมเหล่านี้หรือจากแฮชแท็กเกี่ยวกับเคป๊อปเพื่อให้ข้อความหรือสิ่งที่แบบรนด์ต้องการส่งข้อมูลไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ นอกจากนี้ Arvinder Gujral ได้ขยายความเพิ่มเติมว่า “เคป๊อบ คือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและกลายเป็นบทสนทนาบนโลกทวิตเตอร์ ทำให้เห็นว่าคนไทยสนใจเคป๊อบมากพอ ๆ กับคนเกาหลี ที่เรียกว่า Import Conversation คือ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากที่อื่น แต่คนไทยก็มีคามสนใจเช่นกัน และตอกย้ำว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้ใช้งานค่อนข้างนิยมเล่นกันก็คือ Export Conversation อย่างการเกิดเรื่องของถ้ำหลวง ที่สร้างปรากฎการณ์การร่วมมือเอาใจช่วยจากทั่วทั้งโลกมาแล้ว“
6. กลุ่มคนช่วงอายุ 16 – 34 ปี (คนมิลเลนเนียล) เป็นกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มใหญ่
กลุ่มคนในช่วงอายุ 16 – 34 ปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 68 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนคนผู้เล่นทวิเตอร์ จากแพลตฟอร์มที่ดึงกลุ่มคนที่ชื่นชอบในเคป๊อบเข้ามาใช้งาน ทำให้ทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมจากคนกลุ่มนี้ ที่ถือเป็นฐานใหญ่ของความชื่นชอบในวัฒนธรรมเคป๊อบ จากกลุ่มคนมิลเลนเนียลที่ถือเป็นคนกลุ่มใหญ๋ของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสทางการตลาและธุรกิจที่สอดคล้องต่อคนกลุ่มนี้ ทั้งการออกแคมเปฐ การออกโปรโมชั่น การสื่อสารทางการตลาด การสร้างการรับรู้ให้กับธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น เช่น ร้านค้าที่เปิดร้ายขายของในการสั่งสินค้าจากจีนหรือรับพรีออเดอร์สินค้า รับนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เป็นต้น
7. พฤติกรรมของผู้ใช้ทวิตเตอร์มีทัศนคติที่เปิดกว้าง
ผู้เล่นทวิตเตอร์จำนวนมากจะได้เห็นทัศนคติในประเด็นต่าง ๆ หรือประเด็นที่กำลังเป็นกระแสอยู่ แตกต่างกันและเปิดโอกาสในการพูดคุย อภิปรายกันอย่างตรงไหตรงมา และเป็นแพลตฟอร์มในการกระจายข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว ชนิดที่ว่าอยากอัพเดตตัวเอง อยากค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ก็สามารถอัพเดตได้รวดเร็วและก่อนใครผ่านโลกทวิตเตอร์แห่งนี้
8. Influencer มีบทบาทสำคัญอย่างมากในทวิตเตอร์
เหล่า Influencer ที่อยู่ในโลกของทวิตเตอร์ได้มีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อให้คนเชื่อมต่อตัน ทำให้ Influencer สามารถติดต่อพูดคุย สื่อสารและสร้างฐานแฟนคลับได้ เห็นได้จากที่แบรนด์หรือธุรกิจร้านค้า ต่างก็หันมาใช้ Influencer ในการโปรโมตสินค้าและบริการ หรือใช้การรีวิวผ่านบุคคลเหล่านี้ที่ถือได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว ร้านค้าร้านไหนกำลังอยู่ในช่วงโปรโมตร้านหรือกำลังเริ่มต้นอเช่น ร้านรับนำเข้าหรือสั่งสินค้าจากจีนหรือต่างประเทศ แต่ยังไม่มีคนรู้จัก ก็สามารถอาศัยกลุ่ม Influencer บนทวิตเตอร์ในการสื่อสารไปยังกลุ่มคนเป้าหมายก็ได้
9. วิดิโอ เครื่องมือในการเข้าถึงผู้บริโภค
ทวิตเตอร์ได้พัฒนาฟีลเจอร์วิดีโอ สำหรับเป็นเครื่องมือให้กับนักการตลาดหรือแบรนด์ ธุรกิจต่าง ๆ โดยสามารถใช้เครื่องมือในการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคหือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการเสพสื่อที่เปลี่ยนไปของคนไทย โดยเฉพาะกับกลุ่มคนมิลเลนเนียลที่นิยมดูคอนเทนต์วิดีโอผ่านสมาร์ทโฟน และเห็นธุรกิจหรือแบรนด์สินค้าต่าง ๆ จำนวนไม่น้อยทีผลิตคอนเนต์ของมาในรูปแบบของวิดีโอเป็นจำนวนมาก รวมถึงร้านค้าเล็ก ๆ ที่ไม่มีหน้าร้าน อย่าง ร้านค้าที่ใช้วิธีการสั่งสินค้าจากจีน ที่นำสินค้าเข้ามาขายในบ้านเรานั่นเอง และทวิตเตอร์ก็ได้พัฒนารูปแบบวิดีโอออกมามากมายหลายอย่าง เช่น Real-time Highlight, Interactive Video, Live Show Event, Highlight from Top Show
10. Content Partnership Strategy
ทวิตเตอร์กำลังออกแบบและสร้างแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจอย่างหนัก เพื่อสร้างและป้อนคอนเทนต์ต่าง ๆ ลงแพลตฟอร์ม ที่มีทั้งระดับ Global Partner และ Local Partner ซึ่งเราอาจจะเห็นและคุ้นเคยกันดีในระดับ Local Partner ที่จับมือกับเวิร์กพอยท์ ในการปล่อยคอนเทนต์ในรูปแบบของคลิปไฮไลท์รายการ เป็นต้น
ทวิตเตอร์กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย หลาย ๆ ธุรกิจ หลาย ๆ แบรนด์ต่างหันเข้ามาสื่อสารหรือทำการตลาดผ่านเครื่องมือนี้ หรือหลาย ๆ ธุรกิจอาจจะมีความกังวลว่า หากทำการตลาดหรือสื่อสารผ่านทวิตเตอร์ไปแล้ว จะได้ผลจริง ๆ หรือไม่ เราขอยกคำกล่าวของ Arvinder Gujral ที่กล่าวว่า “สำหรับทวิตเตอร์ไม่ได้มี Reach ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับ โซเชียลมีเดียอื่น แต่คนที่อยู่บนแพลตฟอร์มนี้ คือ คนที่มี ความคิด ทัศนคติที่เปิดกว้างและมีอิทธิพลในการพูดคุยกับเพื่อน และครอบครัว เพราะฉะนั้นอย่าเมินเฉยกับฐานผู้ใช้ ทวิตเตอร์” รู้อย่างนี้แล้วก็อย่ารอช้าหรือเมินเฉยต่อทวิตเตอร์ ที่จะทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินต่อไป ต่อให้คุณทำธุรกิจอะไรก็ตามแต่ เปิดร้านอาหาร คาเฟ่นม ขายเสื้อผ้า หรือแม้แต่สั่งสินค้าจากจีน หากคุณใช้เครื่งมือเหล่านี้เป็นและอย่างมีประสิทธิภาพ รับรองว่าธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เข้ามาดูบริการนำเข้าสินค้าหรือสั่งสินค้าจากจีนกับ Chinatopcargo ได้ที่เว็บไซต์ของเรา และอ่านบทความเรื่องสั่งสินค้าจากจีนกับการทำ Google Adwords ที่ต้องระวังสำหรับธุรกิจ SME คลิกเลย