1688 รู้จัก 11 เรื่องเจาะลึกของ 11.11 จากวันคนโสดของจีนสู่วันช็อปปิ้ง

1688 รู้จัก 11 เรื่อง เจาะลึก chinatopcargo 1688 1688 รู้จัก 11 เรื่องเจาะลึกของ 11.11 จากวันคนโสดของจีนสู่วันช็อปปิ้ง 11                                          chinatopcargo 768x402

1688 ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า เพียงแค่วันนี้วันเดียว 11.11 หรือ ‘Double 11’ ก็สามารถทำให้ยอดขายออนไลน์ของ Alibaba ผู้สร้างแคมเปญสินค้าลดราคาเอาใจคนโสดในเว็บไซต์ 1688 Taobao และ Tmall สูงสุดถึง 30.8 พันล้านดอลลาร์ และเพิ่มขึ้น 27% จากปีก่อนหน้านี้

รวมทั้งมีแบรนด์นำเข้าร่วมรายการถึง 180,000 รายการ จัดส่งทางพัสดุภัณฑ์ถึง 1 พันล้านรายการ จนนับได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์การจำหน่ายสินค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล

แต่กว่าจะมาเป็นวันที่คนทั่วโลกตั้งตารอคอยนั้น แท้จริงแล้ววันที่ 11 เดือน 11 ในอดีต คือวันคนโสดจีน เป็นวันอันแสนโดดเดี่ยวสำหรับคนไร้คู่ จน Alibaba พัฒนากลายมาสู่วันแห่งการช็อปปิ้งสินค้าลดราคา เพื่อช่วยเยียวยาหัวใจคนช่างเหงา Chinatopcargo รวบรวมข้อมูลเชิงเจาะลึกเกี่ยวกับวันที่ 11.11 ทั้งหมด 11 ข้อมาเล่าสู่กันฟัง

1. 11.11 (วันที่ 11 เดือน 11) ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1990 ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของจีน ในยุคนั้นจัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับคนโสด ซึ่งตัวเลข 11.11 เป็นสัญลักษณ์ของคนโสดหรือผู้ที่ไม่มีความสัมพันธ์ผูกมัดใดๆ ต่อมาในปี 2009 Jack Ma แห่ง Alibaba เกิดปิ๊งไอเดียนี้ จึงได้เปลี่ยนให้เป็นวันแห่งการลดราคาสินค้าในเว็บไซต์ของเขาเพียง 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการมอบของขวัญให้กับตัวเอง (คนโสด) เนื่องจากเชื่อว่า การช็อปปิ้งจะช่วยบำบัดความเหงาและความเศร้าในหัวใจได้เป็นอย่างดี ทำให้ทุกวันนี้เทศกาลลดราคา 11.11 จึงโด่งดังและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

2. ไม่ใช่มีเพียงวันนี้วันเดียวเท่านั้น แต่ช่วงเวลา 20 วัน ก่อนถึงเทศกาลช็อปปิ้ง 11.11 ในปี 2018 มีการจัดแคมเปญที่เป็นการนับถอยหลังเป็นครั้งแรกของเทศกาลดังกล่าว เรียกว่า ‘See Now Buy Now’ หรือเห็นตอนนี้ซื้อตอนนี้ รวมทั้งมีการไลฟ์สดนานถึง 4 ชั่วโมงเต็ม ทั่วทั้ง 10 แพลตฟอร์มในวันที่ 11.11 โดย Alibaba ได้แนะนำสินค้าน่าซื้อบนโซเชียลมีเดีย ผ่านพนักงานขาย 50 คน ซึ่งแต่ละคนนั้นมีเวลาเพียง 90 วินาทีในการโน้มน้าวใจผู้บริโภคให้ได้รับการตอบรับในการซื้อมากที่สุด

3. ไม่ใช่แค่เพียงร้านค้าขายปลีกเท่านั้น ยังมีทั้งความบันเทิงอื่นๆ ที่สามารถตอบโต้ระหว่างผู้จำหน่ายกับผู้บริโภคได้ เนื่องจาก Alibaba มองเห็นว่าการค้าปลีกแบบเก่าเป็นความน่าเบื่อ จึงทำให้เทศกาล 11.11 ถือเป็นสุดยอดของการเปลี่ยนแปลงที่ชาญฉลาด ตั้งแต่การจำหน่ายไปจนถึงการช็อปปิ้ง และผู้บริโภคไม่เพียงแค่ดูและซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังสามารถมีส่วนร่วมกิจกรรมกับเทศกาลนี้ได้อย่างดื่มด่ำ ซึ่งส่วนใหญ่เทศกาลนี้ มักจัดผ่าน Taobao และ Tmall และผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเชื่อมต่อผ่านทางสมาร์ทโฟน

4. ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดภายในประเทศจีนอีกต่อไป มันกำลังกลายเป็นกิจกรรมหรือเทศกาลไปทั่วโลก เป้าหมายระยะยาวของ Alibaba ระบุไว้ว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายมาจากต่างประเทศ และเทศกาล 11.11 ก็กำลังจะเพิ่มขึ้นทั่วโลก หลังจากอาลีบาบาได้เข้ามาบริหาร Lazada ของสิงคโปร์ ทำให้ร้านค้าจำนวนมากใน Lazada ก็ได้จัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าในวันที่ 11.11 เช่นเดียวกัน

5. ไม่ใช่เพียงแค่ระบบดิจิทัล แต่ยังรวมไปถึงเรื่องทางกายภาพ ในขณะที่เทศกาล 11.11 หรือ Double11 ดำเนินการออนไลน์เป็นหลัก Alibaba ก็กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดประสบการณ์ทุกช่องทาง

6. ไม่ใช่เพียงไซต์เดียวเท่านั้น Alibaba ยังได้ประกาศอย่างภาคภูมิว่าเป็นมันคือ ‘all-in’ ของ 11.11 อย่างแท้จริง นอกเหนือจาก Tmall ตลาด E-Commerce ชั้นนำของจีน ซึ่งเป็นธุรกิจในโมเดลแบบ B2C (Business to Customer) แล้ว ยังรวมไปถึงเว็บไซต์ Taobao , Lazada ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นธุรกิจแบบ C2C (Customer to Customer) รวมไปถึงขยายไปสู่แพลตฟอร์มการส่งมอบบริการ Ele.me , ชุมชน Taobao (หมายถึงศูนย์บริการริเริ่มที่จะขยายพื้นที่ครอบคลุมไปยังชนบท) , Ling Shou Tong (แพลตฟอร์มเทคโนโลยีเปิดตัว 200,000 ร้านสะดวกซื้อ) , Freshippo , AliCloud และเครือข่าย Cainiao Smart Logistics ที่ช่วยทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น

7. ไม่ใช่การลดราคาเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเปิดตัวของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในวันที่ 11.11 จะมีข้อเสนอมากมายที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่กิจกรรมการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ 11.11 เป็นเวทีเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้เปิดตัวบนแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด

8. ไม่ใช่การลดล้างสต็อกสินค้าเพียงอย่างเดียวในวันนี้ แต่มันเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาทางนวัตกรรม ผ่านแพลตฟอร์มตัวกลางที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาอย่าง Tmall อีกทั้ง Alibaba ได้ทำงานร่วมกันกับแบรนด์ต่างๆ เพื่อจัดหาข้อมูลเชิงลึกและช่วยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่อีกด้วย

9. ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้แบรนด์ต่างๆ มีการวางแผนโปรแกรมเข้ากับแผนกลยุทธ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นการวางแผนล่วงหน้าอย่างน้อยเป็นเวลา 9 เดือนเต็ม ก่อนจะถึงวันที่ 11.11

10. ไม่ใช่การแข่งขันสำหรับผู้บริโภคเท่านั้น แต่มันเป็นการ ‘แข่งขันสำหรับแบรนด์’ ด้วยเช่นกัน ในยุคดิจิทัล ภาพของการขายทั่วไปคือผู้ซื้อต้องต่อสู้กับการแย่งชิงสินค้าบนชั้นขายสินค้าหรือเชลฟ์ขายสินค้า และสิ่งเหล่านั้นมักมีช่วง 11.11 มาเกี่ยวข้องพร้อมกับข้อเสนอร่วมด้วย แต่นี้ไม่ได้เป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการแข่งขันเพื่อที่ต้อง ‘ชนะ’ เพราะมันไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอ ในด้านของธุรกิจการต่อสู้เพื่อให้แบรนด์ได้ตำแหน่งที่ดีที่สุดในช่วง 11.11 คือ บริษัทต้องมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการสื่อสารที่ส่งผลต่อผู้บริโภค อีกทั้งต้องมีการวางแผนร่วมกันกับ Alibaba ด้วย

11. ปัจจุบัน 46% ของยอดขาย 11.11 ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าที่เกิดในปี 1990 และต่อมาคือ Gen Me และ Gen Z จะว่าไปแล้ว เทศกาลช็อปปิ้ง 11.11 เป็นเทศกาลระดับโลกที่มุ่งให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมระหว่างร้านค้าและแบรนด์ สำหรับในอนาคต เป็นที่เชื่อกันว่า Alibaba จะมีลูกเล่นอื่นๆ เพิ่มเติมอีกมากมายเพื่อให้เทศกาล 11.11 ยิ่งใหญ่และดีขึ้นกว่าเดิม รวมไปถึงคาดการณ์กันว่าจะทำให้การบริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความสำเร็จของเทศกาล 11.11 หรือ Double 11 นั้น แสดงให้เห็นว่า หากเมื่อวานคือดีที่สุด มันคือจุดเริ่มต้นของวันนี้ ที่ดีกว่าอย่างแน่นอน

ด้วยกิจกรรมหรือเทศกาลช็อปปิ้งดังกล่าว ทำให้ร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ เริ่มแห่ทำตามแนวทางนี้ เพื่อกระตุ้นยอดขายและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับกิจกรรมช็อปปิ้งนี้ ยกตัวอย่าง อย่างเช่น Shopee ได้จัดช่วงเวลาช็อปปิ้งที่ไม่ใช่เพียงแค่การลดราคาสินค้าเท่านั้น แต่จำกัดจำนวนของผลิตภัณฑ์ และค่าขนส่ง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก และนั้นส่งผลให้ผู้ซื้อเกิดกระบวนการคิดว่าผลิตภัณฑ์นี้มีความจำเป็นหรือไม่ หากจำเป็นและตรงต่อความต้องการ ผลที่ตามมาคือทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อในช่วงกิจกรรมเหล่านั้นทันที เพราะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด

ช่วงเวลา 11.11 สามารถเห็นได้บนเว็บไซต์ชั้นนำของจีน ไม่ว่าจะเป็น 1688 Taobao และ Tmall ทำให้ผู้บริโภคได้รับราคาพิเศษในช่วงเวลานี้ ไม่เพียงแค่นั้นยังมีส่วนร่วมกับกิจกรรมสุดเอ็กครูซีฟที่ทาง 1688 Taobao และ Tmall ได้จัดกิจกรรมเอาไว้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับการช็อปปิ้งรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากแบบเก่า กลายเป็นความสนุกไปกับการช็อปปิ้ง ช่วยสร้างความสุขให้กับร้านค้าชั้นนำและผู้บริโภค

ฉะนั้นแล้วกิจกรรมช็อปปิ้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเฉพาะ 1688 Taobao และ Tmall ภายในประเทศจีนเท่านั้น แต่มันได้แพร่กระจายไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยอีกด้วย นับได้ว่าสิ่งนี้ได้เปลี่ยนแปลงการตลาดได้อย่างสิ้นเชิง และคาดว่าจะส่งผลดีต่อร้านค้าต่อไปในระยะยาวอีกด้วย เชื่อได้เลยว่าสินค้าจากจีนยังคงทำให้คนไทยหลายๆ คนสนใจจนต้องสั่งซื้อสินค้าจาก 1688 Taobao และ Tmall แต่หากคิดว่ามันยุ่งยากสามารถเปลี่ยนให้เป็นเรื่องง่ายด้วยเว็บไซต์กลางอย่าง Alibabaeasy เว็บไซต์ภาษาไทยใช้งานง่าย และให้การนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยง่ายเพียงปลายนิ้วคลิก ด้วยบริการระดับมาตรฐานจากผู้ให้บริการระดับมืออาชีพ ปลอดภัย รวดเร็ว และให้คุณสามารถติดตามสถานะสินค้าได้ จาก Chinatopcargo ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากจีนและเงื่อนไขการใช้บริการ มั่นใจได้ว่าสามารถนำเข้าสินค้าได้อย่างถูกต้อง และได้รับสินค้าถึงมืออย่างแน่นอน