ชิปปิ้ง Incoterms (International Commercial Terms) คือ เงื่อนไขการส่งมอบสินค้าหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ภายใต้การดูแลและคุ้มครองจากสภาหอการค้านานาชาติ (ICC : International Chamber of Commerc) ซึ่งเป็นผู้กำหนดคำ Icoterms ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479 (ปี ค.ศ. 1936) และมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งภาวะการค้าโลกอยู่ตลอด
โดยในระยะรอบ 10 ปี Icoterms จะมีการแก้ไขปรับปรุงที่สำคัญเพียง 1 ครั้ง เช่น Incoterms 2000 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงขึ้นในปี 2010 จึงเรียกว่า Incoterms 2010 และเมื่อเดือนกันยายน 2019 ที่ผ่านมา ICC ได้ออกเผยแพร่ Incoterms ฉบับใหม่ คือ Incoterms 2020 ซึ่งฉบับแก้ไขจากปี 2010 และมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นมา
Incoterms สำคัญอย่างไร?
Incoterms สามารถบ่งบอกขอบเขตค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงต่างๆ ในการส่งมอบสินค้าได้ ซึ่งผู้นำเข้า-ส่งออก ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า เพื่อการวางแผนเรื่องความเสี่ยง และภาระการดำเนินการขนส่งให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น ปราศจากปัญหาตามมาอย่างไรก็ตาม บริษัทขนส่งชิปปิ้งจำเป็นต้องทราบเงื่อนไขข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศเพื่อที่จะนำข้อมูลราคาสินค้า ค่าระวางขนส่ง และค่าประกันภัย มาใช้ในการทำใบขนสินค้าเพื่อดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรได้อย่างถูกต้อง
Chinatopcargo มีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไข Incoterms 2020 มาฝากผู้นำเข้าสินค้าจากจีน และสำหรับเงื่อนไขที่เป็น ที่ยอมรับในกลุ่มบริษัทชิปปิ้งว่าสามารถใช้ได้ในระดับสากลมี 6 เงื่อนไขหลัก ดังต่อไปนี้
1.FOB (Free On Board)
เงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะต้องจัดเตรียมสินค้า ใบกำกับสินค้า และหลักฐานอื่นใด ที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขาย และผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าโดยการนำสินค้าขึ้นไปบนเรือ ณ จุดขนถ่ายที่ท่าเรือต้นทางที่ระบุโดยผู้ซื้อ ในวันที่ หรือภายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งผู้ขายต้องชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตรวจสอบ อาทิ การตรวจสอบคุณภาพ การวัด การชั่งน้ำหนัก การนับจำนวน และชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบซึ่งถูกกำหนดให้ดำเนินการโดยหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศส่งออก
2.EXW (Ex Works)
เงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่ทำการของผู้ขาย เช่น โรงงาน หรือโกดังสินค้า ฯลฯ โดย ผู้ซื้อจะรับภาระในการดำเนินการค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงหลังจากการส่งมอบของแล้ว อาทิ การขนของขึ้นพาหนะขนส่ง การผ่านพิธีการส่งออก เป็นต้น ข้อตกลงนี้เหมาะสำหรับการค้าในประเทศ (อาจใช้ในกรณีที่มีการขนส่งมากกว่าหนึ่งรูปแบบ)
3.CFR (Cost and Frieght)
เงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าโดยนำสินค้าขึ้นไปบนเรือ ณ ท่าเรือปลายทางที่ระบุ หรือ ณ จุดใด จุดหนึ่งที่ท่าเรือนั้น ผู้ขายจะชำระค่าใช้จ่าย และค่าขนส่งเพื่อการส่งของถึงปลายทางตามที่ระบุไว้ ผู้ซื้อจะรับภาระความเสี่ยงต่อการเสียหายหรือสูญหาย รวมทั้งค่าใช้จ่าย ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องจากเหตุใดๆ หลังจากที่ได้ขนของขึ้นบนเรือ ณ ท่าส่งออก (ข้อตกลงนี้ใช้กับการขนส่งทางทะเลหรือทางน้ำในแผ่นดินเท่านั้น)
4. CIF (Cost, Insurance & Freight)
เงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือปลายทางที่กำหนด ผู้ขายมีภาระเช่นเดียวกับ CFR ผู้ขายจะเป็นผู้ทำสัญญารับจัดการขนส่งสินค้า และทำสัญญาประกันภัยเพื่อความเสี่ยงภัยต่อ การเสียหายหรือสูญหายระหว่างการขนส่งสินค้าจนถึงท่าเรือปลายทางด้วยความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายของตนเอง (ข้อตกลงนี้ใช้กับการขนส่งทางทะเลหรือทางน้ำในแผ่นดินเท่านั้น)
5.DDP (Delivered Duty Paid)
เงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะส่งมอบสินค้า ณ สถานที่ที่ผู้ซื้อระบุไว้ในสัญญา โดยผู้ขายจะต้องรับภาระความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทาง และผู้ขายจะเป็นผู้ผ่านพิธีการส่งออก และพิธีการนำเข้า รวมทั้งชำระค่าภาษีอากร และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าดังกล่าวจนถึงสถานที่ปลายทาง (ข้อตกลงนี้อาจใช้ในกรณีที่มีการขนส่งมากกว่าหนึ่งรูปแบบ)
6.DDU (Delivered Duty Unpaid)
เงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ ณ สถานที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยพร้อมที่จะขนลงจากพาหนะขนส่ง ผู้ขายอาจมีความเสี่ยงในความเสียหายของสินค้า และต้องชำระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า(ชิปปิ้ง)จนถึงสถานที่ของผู้ซื้อ รวมทั้งมีหน้าที่ผ่านพิธีการส่งออก แต่จะไม่ต้องรับผิดชอบการผ่านพิธีการนำเข้า (ข้อตกลงนี้อาจใช้ในกรณีที่มีการขนส่งมากกว่าหนึ่งรูปแบบ)
อย่างไรก็ตาม หากผู้นำเข้าสินค้าเลือกใช้บริการขนส่งสินค้ากับบริษัทชิปปิ้ง คุณจะหมดปัญหาในเงื่อนไขดังกล่าว เนื่องจากทางบริษัทชิปปิ้งจะเป็นผู้ดำเนินการทุกขั้นตอนให้กับลูกค้าทั้งหมด อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อดีของการนำเข้าสินค้าจากจีนโดยบริษัท Shipping