สั่งของจากจีนกับวิธีการจ่ายเงินระหว่างประเทศ
ปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ประกอบการขายของออนไลน์ไม่จำเป็นต้องขายสินค้าให้กับคนในประเทศเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาหรือเรียกได้ว่าโลกออนไลน์ยึดครองพื้นที่ของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตประจำประวัน ทำให้การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ง่าย ๆ ส่งผลดีต่อธุรกิจแบบออนไลน์ อีคอมเมิรช์ ที่ไม่ว่าร้านค้าจะตั้งอยู่ที่ไหน ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าขายอีกต่อไป เช่น คูรเป็นคนไทย สั่งของจากจีน และส่งขายสินค้าให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ก็ไม่ใช่เรื่องยากหรือทำไม่ได้ เพียงแค่มีหน้าร้าน เว็บไซต์ เพจหรือมาร์เก็ตเพลส ที่ช่วยเชื่อมต่อพ่อค้าแม่ค้ากับผู้บริโภคให้เข้าหากัน ก็สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ไม่จำกัดพื้นที่และไม่จำกัดเวลา ดังนั้นการขายของก็ต้องมาพร้อมกับการจ่ายเงิน แต่ละที่ก็มีวิธีหรือขั้นตอน ระบบของการชำระเงินที่แตกต่างกันไป รวมถึงค่าเงินที่แตกต่างกันอีกด้วย ปัญหาเหล่านี้ดูเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ บางรายไม่มีระบบการชำระเงินที่หลากหลาย ทำให้สูญเสียลูกค้าที่คาดว่าจะซื้อของที่ร้านของเราไปอย่างน่าเสียดาย หรือบางร้านค้าก็ไม่ยอมทำมาค้าขายกับเหล่าลูกค้าต่างประเทศ หรือแม้แต่การสั่งของหรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพราะไม่มีระบบการจ่ายเงินที่ตอบสนองเพียงพอหรือไม่เข้าใจในการชำระเงินนั่นเอง วันนี้ chinatopcargo มี 5 วิธีการจ่ายเงินระหว่างประเทศมาฝากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กัน เพื่อเปิดโอกาสให้กับเหล่าร้านค้าหรือธุรกิจออนไลน์เพราะช่องทางที่หลากหลาย ย่อมสร้างโอกาสต่อธุรกิจได้มากขึ้น
1. TT ย่อมาจาก Telegraphic Transfer หรือ Bank Transfer
เป็นการส่งเงินโดยผ่านระบบการโอนเงินของธนาคาร เป็นวิธีแบบดั้งเดิมของการค้าขายระหว่างประเทศ แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียคือผู้ซื้อจะต้องไปทำเรื่องโอนเงินไปยังต่างประเทศที่ธนาคารโดยตรง และเรทการส่งเงินไปต่างประเทศก็ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารและตามช่วงเวลา สำหรับวิธีนี้จะสร้างความกังวลใจให้กับผู้ซื้อ เพราะถ้าหากโอนเงินไปแล้วผู้ขายไม่ยอมส่งของมา ก็ทำให้ไม่สามารถเอาเงินคืนได้
2. LC ย่อมาจาก Letter of Credit
วิธีนี้ธนาคารจะเป็นผู้ประสานระหว่างผู้ขายแะลผู้ซื้อ โดยผู้ขายจะได้รับเงินเมื่อส่งมอบตามตกลง เป็นการจ่ายเงินแบบที่ให้ธนาคารมาเป็นคนกลาง โดยผู้ขายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าตามข้อตกลง ซึ่งเป็นข้อดีของการซื้อขายระหว่างผู้ขายและลูกค้า ทำให้มีความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อขายกันได้ง่ายขึ้น และไม่ต้องกลัวโดนโกงหรือผู้ขายไม่ส่งสินค้ามา แต่ก็มีข้อเสียและมีความยุ่งยากมาก เพราะต้องเสียเวลากับการทำความเข้าใจและการทำเอกสารที่ซับซ้อน จึงทำให้วิธีนี้ไม่เหมาะกับธุรกิจแบบ E – Commerce
3. Western Union
ตัวกลางในการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเหมาะกับผู้ค้าขายรายย่อย ข้อดีของวิธีนี้คือสะดวกและไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่และปลอดภัย และถึงมือผู้รับปลายทางในไม่กี่นาที แต่ข้อเสียคือเรทการแลกเปลี่ยนเงินตราที่สูงมาก
4. Credit Card
เพียงแค่มีตัวเลขหน้า Credit Card ก็สามารถจายเงินได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ เพราะ Market Place ในกระบวนการของขั้นตอนการชำระเงินของทุกเว็บ หรือแม้แต่เว็บอื่น ๆ อย่าง เว็บจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม เว็บซื้อสินค้า ก็มีช่องทางในการชำระแบบตัดผ่านบัตรเครดิตทั้งสิ้น เหมาะกับประเทศไทยที่เข้าสู่ยุค 4.0 อย่างไรก็ตามข้อเสียของการชำระผ่านบัตรเครดิต คือเรื่องของความปลอดภัยและเสี่ยงต่อการโจรกรรมข้อมูล
5. PayPal / Alipay
ระบบการจ่ายเงินผ่าน PayPal หรือ Alipay เป็นระบบการจ่ายเงินที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับธุรกิจแบบ E – Commerce เป็นระบบการจ่ายเงินสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์ ที่ตอบโจทย์ทั้งลูกค้าและผู้ขายได้ครบครัน เพราะได้รวมข้อดีของทุกระบบไว้ในที่เดียว การจ่ายเงินผ่านระบบนี้ จะได้รับการดูแลผ่านคนกลางของ PayPal หรือ Alipay เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ข้อดีคือสะดวก ใช้งานง่าย และสามารถจ่ายเงินได้ทั่วโลก และยังมีความปลอดภัยจากการโจรกรรมของข้อมูลได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามระบบการชำระเงินออนไลน์นั้นมีให้เลือกมากมาย การมีตัวเลือกของการจ่ายเงินหลาย ๆ ตัวเลือกึงเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อย่าลืมดูพฤติกรรมของผู้ค้าขายหรือผู้ซื้อว่าใช้การจ่ายเงินอย่างไร เช่น อเมริการจะนิยมการจ่ายเงินแบบ PayPal แต่ประเทศจีนคนจะนิยมชำระเงินผ่าน Alipay เพราะถ้าหากคุณต้องทำมาค้าขายหรือสั่งของจากจีนเพื่อทำธุรกิจ ก็จำเป็นต้องมีอาลิเพย์ในการชำระเงินเพื่อความสะดวกที่สุด เป็นต้น
การมีช่องทางการจ่ายเงินที่หลากหลาย จะช่วยให้ธุรกิจของคุณถูกเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายกับต่างประเทศหรือสั่งของจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีน (คลิกเลย) ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แถมยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตในระดับโลกได้อีกด้วย อ่านบทความเกี่ยวกับการนำเข้าหรือสั่งของจากจีนเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่